Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย:  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก

          ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Arts Program in Children’s Literature

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก)

          ชื่อย่อ: ศศ.บ. (วรรณกรรมสำหรับเด็ก)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Children’s Literature)

          ชื่อย่อ:  B.A. (Children’s Literature)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

 

ปรัชญาหลักสูตร

      การพัฒนาเด็กด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสังคม

 

ความสำคัญ

             หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เน้นสร้างบุคลากรเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็กทุกรูปแบบ (ทั้งการ อ่าน ร้อง เล่น เล่า วรรณกรรมทุกชนิด) มาตั้งแต่ปีแรกที่เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2537 ในช่วงทศวรรษแรกที่เปิดสอน หลักสูตรมุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตเข้าสู่ธุรกิจการพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กซึ่งกำลังเฟื่องฟู และเน้นให้บัณฑิตจบไปทำงานด้านการส่งเสริมการอ่านด้วยสื่อสำหรับเด็กและด้วยกิจกรรมพัฒนาเด็ก ในช่วงทศวรรษที่สองจึงการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ทันสมัยขึ้น โดยขยายศักยภาพให้บัณฑิตสามารถสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กทุกรูปแบบได้ทั้งสื่อตามขนบดั้งเดิม (traditional media) และสื่อสมัยใหม่ (new media) ตามการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยยังคงยึดมั่นในการตอบสนองปรัชญาของหลักสูตรแต่ดั้งเดิม คือเพื่อสร้างบัณฑิตให้สามารถใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กหลากหลายรูปแบบเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งจะช่วยพัฒนาสังคมได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน

              หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มีการปรับปรุงทุก 5 ปี ให้ทันสมัย เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและตลาดงาน ในปีการศึกษา 2564 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ซึ่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 จนถึงปีการศึกษา 2564 (เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560) จึงครบวาระที่ต้องปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้ทันการใช้ในปีการศึกษา 2565 ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เด็กและเยาวชนคือทรัพยากรมนุษย์อันเป็นศักยภาพสำคัญของการพัฒนาประเทศ หากสังคมใดมุ่งส่งเสริมและพัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมตามวัยและตามระดับขั้นพัฒนาการของการเรียนรู้ จะช่วยสร้างรากฐานที่ดีแก่สังคมนั้น การพัฒนาเด็กใช้เวลายาวนานกว่าสิบปี นับตั้งแต่พ่อแม่วางแผนการมีบุตร จนแม่เริ่มตั้งครรภ์ และครอบครัวเลี้ยงเด็กให้เติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ดังนั้นการพัฒนาเด็กเกินกว่าสิบปีไม่ได้ทำเฉพาะขณะที่เด็กอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น แต่สามารถพัฒนาเด็กได้ทุกพื้นที่ชีวิต กล่าวคือ ในบ้าน นอกบ้าน ในโรงเรียนในสถานที่เล่น ตามแหล่งเรียนรู้สาธารณะ หรือแม้แต่ในเวลาผ่อนคลายส่วนตัวของเด็ก (ห้องสมุดเด็ก พิพิธภัณฑ์ สถาบันพัฒนาศักยภาพเด็ก แหล่งข้อมูลออนไลน์ เกมออนไลน์) เพื่อตอบสนองโอกาสการเรียนรู้ของเด็กซึ่งมีอย่างกว้างขวางในพื้นที่ชีวิตนอกเหนือจากการเรียนในระบบโรงเรียน การพัฒนาเด็กด้วยบุคลากรผู้มีทักษะด้านการ คิด เขียน ออกแบบ สร้างสรรค์ และใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาเด็ก ด้วยวิธีการที่สร้างความเพลิดเพลิน และพัฒนาเด็กอย่างมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ จะช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีเปิดรับต่อการเรียนรู้ได้มาก ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่เด็กเอง การเรียนรู้ของเด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่ในขอบเขตอันปลอดภัยใต้การควบคุมของผู้ใหญ่แบบคนในศตวรรษก่อนอีกต่อไป จึงต้องมีผู้รู้จักคิด สร้าง ใช้ วรรณกรรมสำหรับเด็กอย่างมีคุณภาพและมีจรรยาบรรณ เพื่อช่วยสร้างสรรค์เนื้อหาและรูปแบบของสื่อที่เด็กและเยาวชนเสพให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง หลักสูตรยังตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ “เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง...มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21...มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูงและมีคุณภาพ” การใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาเด็กทำให้เด็กได้พัฒนาแบบองค์รวม ด้วยการช่วยให้เด็กเรียนรู้โลกทางอ้อมผ่านวรรณกรรม ช่วยเสริมสร้างทักษะการคิด ทักษะภาษา ทักษะการคิดวิเคราะห์ และปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่เด็ก ช่วยให้เด็กพัฒนาเป็นทรัพยากรผู้มีทักษะสูงและมีคุณภาพแก่ประเทศ


จุดเด่นของหลักสูตร

   1. มีความรู้ด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวา

   2. สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน

   3. สามารถสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   4. มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ เป็นพลเมืองที่ดี พร้อมอุทิศตนเพื่อการทำงานส่วนรวมและประเทศชาติ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้บัณฑิตมีคุณสมบัติดังนี้

1)       มีความรู้ด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง

2)       สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน

3)       สามารถสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4)       มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ เป็นพลเมืองที่ดี พร้อมอุทิศตนเพื่อการทำงานส่วนรวมและประเทศชาติ

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. กองบรรณาธิการหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน

2. นักเขียน                                            

3. นักแปลวรรณกรรมสำหรับเด็ก

4. นักวาดภาพประกอบ นักออกแบบภาพกราฟิก เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลป์

5. นักออกแบบสื่อสำหรับเด็ก (สื่อดั้งเดิม และสื่อสมัยใหม่)

6. นักจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก นักเล่านิทาน นักแสดงละครสำหรับเด็ก

          7. ผู้สร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับสื่อหลากหลายประเภท เช่น โทรทัศน์, ภาพยนตร์, ละครเวที, สารคดี หรือสื่อสมัยใหม่ (YouTuber, Vlogger, Personal Broadcasting, Podcaster)
          8. ทีมงานศึกษาค้นคว้าข้อมูลแก่บริษัท เช่น บริษัทรับจัดนิทรรศการ/พิพิธภัณฑ์
          9. ผู้สอน ผู้นำการเรียนรู้แก่เด็ก ในสถานศึกษาเอกชน ระดับอนุบาล – ประถมศึกษา




โครงสร้างหลักสูตร

              หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

หมวดวิชา

หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                      ไม่น้อยกว่า

      2.1 วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์

      2.2 วิชาบังคับ

      2.3 วิชาเลือก                                                        ไม่น้อยกว่า

      2.4 วิชาเสริมสร้างประสบการณ์                                  ไม่น้อยกว่า

73 หน่วยกิต

9 หน่วยกิต

48 หน่วยกิต

10 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                    ไม่น้อยกว่า

20 หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

123 หน่วยกิต


 ที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว191

มศว192

ชุดวิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาการเรียนรู้และการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้สู่โลกในศตวรรษที่ 21

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

6

 

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

 

วด101

วด102

วด103

วด104

ชุดวิชาเอกบังคับ

ชุดวิชาความรู้พื้นฐานวรรณกรรมสำหรับเด็ก

ความรู้ทั่วไปด้านวรรณกรรมสำหรับเด็ก

พัฒนาการเด็ก

ประวัติวรรณกรรมสำหรับเด็กนานาชาติ

ประวัติวรรณกรรมสำหรับเด็กของไทย

 

12

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

 

รวม

18

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว193

มศว194

 

ชุดวิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาศิลปะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ

การฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

 

6

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

 

มศว195

มศว196

ชุดวิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชา มศว เพื่อสังคม

พลเมืองสร้างสรรค์สังคม

ศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

 

6

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

 

วด105

วด111

วด121

ชุดวิชาเอกบังคับ

ชุดวิชาการเรียนรู้ของเด็กด้วยวรรณกรรมสำหรับเด็ก

ความรู้ทั่วไปด้านการเรียนรู้สำหรับเด็ก

วรรณกรรมคลาสสิกสำหรับเด็ก

พื้นฐานการวาดและการออกแบบ

 

9

3(3-0-6)

3(3-3-3)

3(2-2-5)

 

รวม

21



ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว291

มศว292

ชุดวิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาวิถีชีวิตที่ชาญฉลาด

วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ

วิทยาศาสตร์ กุญแจสู่การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

 

6

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

 

อสม211

อสม212

ชุดวิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์

ชุดวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาเฉพาะศาสตร์

ภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

4

2(1-2-3)

2(1-2-3)

 

 

วด211

วด212

วด221

วด231

ชุดวิชาเอกบังคับ

ชุดวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กกับสังคม

วรรณกรรมกับสังคม

คติชาวบ้าน

คอมพิวเตอร์เพื่อการผลิตสื่อสำหรับเด็ก

บันเทิงคดีสำหรับเด็ก

 

10

2(2-0-4)

2(2-0-4)

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

รวม

20

 

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว197

มศว 198

ชุดวิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาการพัฒนาทักษะการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ

การพูดและการนำเสนองานเพื่ออาชีพ  

การเตรียมพร้อมสู่การทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ 

 

6

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

 

มนส221

มนส222

ชุดวิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์

ชุดวิชามนุษยศาสตร์กับการสื่อสาร

ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมพร้อมด้านอาชีพ

ศิลปะของการสื่อสารอย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ

 

5

2(1-2-3)

3(2-2-5)

 

 

วด213

วด214

วด232

วด233

ชุดวิชาเอกบังคับ

ชุดวิชาการวิเคราะห์และการสื่อสารวรรณกรรมสำหรับเด็ก

การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็ก

วรรณกรรมศาสนา

สารคดีสำหรับเด็ก

นิทานและการเล่านิทาน 

 

10

3(2-2-5)

2(2-0-4)

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

รวม

21



ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1    

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

วด311

วด332

วด333

 

 

วด321

วด322

วด334

 

 

วด323

วด335

วด336

ชุดวิชาเอกเลือก (เลือก 1 ชุดวิชา)

1) ชุดวิชาการเขียนและการวิจารณ์วรรณกรรมสำหรับเด็ก

การอ่านและวิจารณ์วรรณกรรมสำหรับเด็ก

การเขียนบทกวีสำหรับเด็ก                             

การเขียนบทความในสื่อสมัยใหม่สำหรับเด็ก   

 

2) ชุดวิชาการออกแบบสื่อสมัยใหม่สำหรับเด็ก

การออกแบบและการเขียนภาพประกอบสื่อสำหรับเด็ก

การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์สำหรับเด็ก

การเขียนเนื้อหาเพื่อสร้างสื่อสมัยใหม่สำหรับเด็ก              

 

3) ชุดวิชาการร้อง เล่น เล่า วรรณกรรมสำหรับเด็ก

ละครสำหรับเด็ก 

หนังสือและสื่อเสริมประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับเด็ก           

เทคนิคการใช้เสียงในสื่อสำหรับเด็ก                                    

6

 

2(2-1-3)

2(1-2-3)

2(1-2-3)

 

 

2(1-2-3)

2(1-2-3)

2(1-2-3)

 

 

2(1-2-3)

2(1-2-3)

2(1-2-3)

 

ชุดวิชาเลือกเสรี

10

 

รวม

16


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

 

วด312

วด337

 

 

 

วด324

วด338

 

 

วด339

วด351

ชุดวิชาเอกเลือก (เลือก 1 ชุดวิชา)

4) ชุดวิชาการแปลและการเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก (ต่อเนื่องจากชุดวิชา 1)

การแปลวรรณกรรมสำหรับเด็ก   

การเขียนสร้างสรรค์สำหรับเด็ก    

 

5) ชุดวิชาการเล่าเรื่องด้วยภาพในสื่อสำหรับเด็ก
(ต่อเนื่องจากชุดวิชา 2)

การ์ตูนและมังงะ                          

การเล่าเรื่องในสื่อสำหรับเด็ก   

 

6) ชุดวิชาการจัดการกิจกรรมสำหรับเด็ก (ต่อเนื่องจากชุดวิชา 3)

กิจกรรมสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก 

การจัดการธุรกิจวรรณกรรมสำหรับเด็ก

4

 

 

2(1-2-3)

2(1-2-3)

    

 

 

2(1-2-3)

2(1-2-3)

 

 

2(1-2-3)

2(1-2-3)

 

 

วด331

วด341

ชุดวิชาเอกบังคับ

ชุดวิชาการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพด้านวรรณกรรมสำหรับเด็ก

บรรณาธิการกิจและธุรกิจการพิมพ์

สัมมนาวรรณกรรมสำหรับเด็ก

 

6

3(1-3-5)

3(1-3-5)

 

ชุดวิชาเลือกเสรี

10

 

รวม

20



ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

วด451

วด452*

ชุดวิชาการฝึกประสบการณ์การทำงานและวรรณกรรมสำหรับเด็กนิพนธ์ (เลือก 1 วิชา)

การฝึกงาน              

การเตรียมความพร้อมเพื่อสหกิจศึกษา

*หมายเหตุ: นิสิตต้องเลือกวิชานี้ หากประสงค์จะเลือกเรียน
วด
453 ในภาคเรียนที่ 2  

3

3(0-20-0)

S/U

 

รวม

3

                           

ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

วด453*

 วด461

ชุดวิชาการฝึกประสบการณ์การทำงานและวรรณกรรมสำหรับเด็กนิพนธ์ เลือก 1 วิชา

สหกิจศึกษา

 *หมายเหตุ: นิสิตต้องเรียน วด452 มาก่อนในภาคเรียนที่ 1

วรรณกรรมสำหรับเด็กนิพนธ์  

3-6

 

6(0-40-0)

3(0-3-6)

 

รวม

3-6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1.       ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2.       ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

3.       มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด




image

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
   1. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
   2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)


คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)




Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top