หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
ชื่อสถาบันศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะ/สถาบัน/สำนัก คณะมนุษยศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Oriental Languages
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาตะวันออก)
ชื่อย่อ: ศศ.บ. (ภาษาตะวันออก)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Oriental Languages)
ชื่อย่อ: B.A. (Oriental Languages)
วิชาเอก/แขนงวิชา
ภาษาตะวันออก : ภาษาจีน
ภาษาตะวันออก : ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาตะวันออก : ภาษาเกาหลี
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
ปรัชญาหลักสูตร
เชี่ยวชาญทักษะภาษา เข้าใจวัฒนธรรม มีคุณธรรม สร้างความสำเร็จในการสื่อสารและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
ยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี (2561-2580) ด้านที่ 2 ว่าด้วยการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
และด้านที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันได้ในเวทีโลก และตามแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20
ปี ยุทธศาสตร์ที่ 1 และยุทธศาสตร์ที่ 2
ที่ให้อุดมศึกษาเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนและสร้างเสริมศักยภาพทั้งทักษะความคิดและการรู้คิด
และการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพนักศึกษา เสริมสร้างความรู้ และทักษะทางอาชีพ
ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าภาษาจีน ญี่ปุ่น
และเกาหลีเป็นภาษาที่มีความสำคัญในระดับต้น ๆ ของตลาดแรงงานที่ต้องการผู้รู้ภาษา
สังคมและวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นจำนวนมาก
จากการเก็บข้อมูล
จากกลุ่มผู้ใช้บัณฑิต และกลุ่มศิษย์เก่า ทำให้ได้ข้อมูลว่า
บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาจีน ญี่ปุ่น
และเกาหลีซึ่งประกอบด้วย ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน
และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะภาษาในเชิงวิชาชีพในด้านต่างๆ เช่น การแปล การล่าม
ตลอดจนมีความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นอย่างดี นอกจากนี้
บัณฑิตยังควรเป็นผู้มีความสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
จากยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี
และความเห็นของกลุ่มผู้ใช้บัณฑิตและกลุ่มศิษย์เก่าข้างต้น คณะ
กรรมการบริหารหลักสูตรจึงดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรโดยมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน
ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยเน้นทักษะทางการสื่อสารเพื่อติดต่อปฏิสัมพันธ์กับประเทศจีน
ญี่ปุ่น และเกาหลี
ซึ่งเนื้อหาของหลักสูตรประกอบไปด้วยวิชาเสริมสร้างทักษะทางภาษาและวิชาที่ส่งเสริมความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรม
อีกทั้งหลักสูตรปรับปรุงใหม่นี้ได้มีการเพิ่มวิชาที่เน้นไปทางวิชาชีพเฉพาะด้าน
เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพจริง ทั้งยังส่งเสริมให้นิสิตมีประสบการณ์การทำงานในสถานที่และสถานการณ์จริง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนานิสิตให้ก้าวสู่ความเป็นสากลทางด้านวิชาการและทักษะทางวิชาชีพโดยมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์การศึกษาในประเทศจีน
ญี่ปุ่น และเกาหลี
วัตถุประสงค์หลักสูตร ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ
ดังนี้
1)
มีทักษะการสื่อสารภาษาจีน ญ่ีปุ่น หรือเกาหลีอย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรม
2) มีความรู้ทางด้านตะวันออกศึกษา
และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่นๆ
เพื่อการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม
3) มีความคิด
วิจารณญาณและปฏิภาณไหวพริบ ในการแก้ปัญหาและดำรงตนเป็นพลเมืองที่ดี ของชาติได้ รวมถึงมีจิตสำนึกเชิงจริยธรรมและคุณธรรมจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ความรับผิดชอบต่อสังคม
และดำรงตนในสังคมได้
จุดเด่นของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
+ 3 ในปี 2558
2. นิสิตแต่ละวิชาเอกของหลักสูตรนอกจากจะได้เรียนรู้วิชาเอกของตนแล้ว
ยังมีความรู้เกี่ยวกับด้านประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม และเหตุการณ์ปัจจุบันของ 3
ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จากรายวิชาในหลักสูตร
ดังต่อไปนี้ ภูมิปัญญาและอารยธรรมตะวันออก วัฒนธรรมสมัยนิยมในสังคมตะวันออก
ภาษากับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เหตุการณ์ปัจจุบันในโลกตะวันออก
รวมถึงรายวิชาภาษาอังกฤษ ได้แก่ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1)
พนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
เช่น ล่าม นักแปล ธุรกิจบริการต่างๆ
2)
ทำงานด้านสื่อสารมวลชนหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์
3)
เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศหรือกระทรวงการต่างประเทศ
4)
ทำงานด้านการศึกษา เช่น อาจารย์ นักวิชาการ
นักวิจัย
5)
อาชีพอิสระที่ใช้ความรู้ความสามารถด้านภาษาจีน/ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาเกาหลี