หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อสถาบันศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะ/สถาบัน/สำนัก คณะมนุษยศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Oriental Languages
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาตะวันออก)
ชื่อย่อ: ศศ.บ. (ภาษาตะวันออก)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Oriental Languages)
ชื่อย่อ: B.A. (Oriental Languages)
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
ปรัชญาหลักสูตร
เชี่ยวชาญทักษะภาษา เข้าใจวัฒนธรรม มีคุณธรรม สร้างความสำเร็จในการสื่อสารและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
นโยบายไทยแลนด์
4.0 ซึ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันได้ในเวทีโลก
ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าภาษาจีน ญ่ีปุ่น
และเกาหลีเป็นภาษาที่มีีความสำคัญในระดับต้น ๆ ของตลาดแรงงานที่ต้องการผู้รู้ภาษา
สังคมและวัฒนธรรมจีน ญ่ีปุ่น และเกาหลีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น
หลักสูตรจึงปรับปรุงเพื่อสนองตอบนโยบายดังกล่าวและความต้องการของตลาดแรงงานในศตวรรษท่ี21
หลักสูตรจึงมุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่มีีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน
ญ่ีปุ่น และเกาหลี โดยเน้นทักษะทางการสื่อสารเพื่อติดต่อปฏิสัมพันธ์กับประเทศจีน
ญ่ีปุ่น และเกาหลี
ซึ่งเนื้อหาของหลักสูตรประกอบไปด้วยวิชาเสริมสร้างทักษะทางภาษาและวิชาที่ส่งเสริมความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรม
อีกทั้งหลักสูตรปรับปรุงใหม่นี้ได้มีการเพิ่มวิชาที่เน้นไปทางวิชาชีพเฉพาะด้าน
เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพจริง ทั้งยังส่งเสริมให้นิสิตมีประสบการณ์การทำงานในสถานที่และสถานการณ์จริง
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนานิสิตให้ก้าวสู่ความเป็นสากลทางด้านวิชาการและทักษะทางวิชาชีพโดยมีวิชาเสริมสร้างประสบการณ์การศึกษาในประเทศจีน
ญ่ีปุ่น และเกาหลี
วัตถุประสงค์หลักสูตร ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ
ดังนี้
1)
มีทักษะการสื่อสารภาษาจีน ญ่ีปุ่น หรือเกาหลีอย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรม
2)
มีความใฝ่รู้และนำความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น
หรือเกาหลีไปพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่น
ๆ เพื่อการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม
3)
สามารถใช้องค์ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น
หรือเกาหลีในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมและการศึกษาต่อในระดับสูง
4)
สามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น หรือเกาหลีที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่สังคม
จุดเด่นของหลักสูตร
1. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
+ 3 ในปี 2558
2. นิสิตแต่ละวิชาเอกของหลักสูตรนอกจากจะได้เรียนรู้วิชาเอกของตนแล้ว
ยังมีความรู้เกี่ยวกับด้านประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม และเหตุการณ์ปัจจุบันของ 3
ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จากรายวิชาในหลักสูตร
ดังต่อไปนี้ ภูมิปัญญาและอารยธรรมตะวันออก วัฒนธรรมสมัยนิยมในสังคมตะวันออก
ภาษากับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เหตุการณ์ปัจจุบันในโลกตะวันออก
รวมถึงรายวิชาภาษาอังกฤษ ได้แก่ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ทำงานในวงการการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการ
นักวิจัย
2. พนักงานสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เช่น ล่าม นักแปล มัคคุเทศก์
3. ทำงานด้านสื่อสารมวลชนหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์
4. เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศหรือกระทรวงการต่างประเทศ
5. พนักงานทั้งภาครัฐและเอกชน