Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัญญาและศาสนา

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

          ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Philosophy and Religion

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา)

          ชื่อย่อ: ศศ.บ. (ปรัชญาและศาสนา)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Philosophy and Religion)

          ชื่อย่อ:  B.A. (Philosophy and Religion)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี


ปรัชญาหลักสูตร
           สื่อสารความคิดทางปรัชญาและศาสนา เพื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติ ได้อย่างชาญฉลาด สร้างสรรค์และมีจริยธรรม


ความสำคัญของหลักสูตร

           เนื่องจากสภาพการณ์ของสังคมในยุคปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน อันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้นของประชากรโลก ทำให้การปฏิบัติภารกิจและการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลจำเป็นต้องสัมพันธ์กับสังคมรอบข้าง ในขอบเขตที่กว้างขวางและหลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น บัณฑิตที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตจึงต้องมีความรู้และทักษะที่สบับสนุนให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอันซับซ้อนดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมการศึกษาทางปรัชญาและศาสนาตามหลักสูตรนี้จะช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักใช้เหตุผล ทั้งในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อเท็จจริงเข้ากับมาตรฐานคุณค่าต่าง ๆ ในสังคมได้อย่างเป็นระบบทั้งยังจะช่วยพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคมได้อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรมรวมทั้งความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของศรัทธาในศาสนา นอกจากนั้นการศึกษาตามหลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง และมีพื้นฐานอันเหมาะสมที่จะใช้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปได้อีกด้วย


วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

      1.3.1 มีความรู้ความเข้าใจด้านปรัชญาและศาสนา

      1.3.2 มีทักษะด้านการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ และการประเมินคุณค่าทางจริยธรรม

      1.3.3 มีทักษะในการสังเคราะห์ความคิดเห็นและสังเคราะห์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา รวมถึงมีทักษะในการสื่อสารความคิดได้อย่างสร้างสรรค์

      1.3.4 สามารถประยุกต์องค์ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่อแก้ปัญหาชุมชนและสังคมได้


จุดเด่นของหลักสูตร

           พัฒนานิสิตให้มีโลกทัศน์ที่ลึกซึ้งกว้างไกล มีทักษะการใช้เหตุผล สามารถคิดอย่างเป็นระบบ และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีทักษะสำคัญที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืน มีส่วนสร้างความสมัครสมานสามัคคีและก่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคม

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1.รับราชการ

2. พนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. นักสื่อสารมวลชน

4. นักเขียน

5. นักโฆษณา

6. นักประชาสัมพันธ์

7. พนักงานฝ่ายบริหารจัดการ

8. พนักงานขายและการตลาด

9. พนักงานฝ่ายบริการ

10. อาชีพอิสระ




โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

 

หมวดวิชา

หน่วยกิต

ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

ข.  หมวดวิชาเฉพาะ

ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต

         -   วิชาบังคับภาษาอังกฤษ    

               12 หน่วยกิต

         -   วิชาเอกบังคับ

               36 หน่วยกิต

         -   วิชาเอกเลือก

               24 หน่วยกิต

         -   วิชาเลือกกลุ่มเสริมสร้างประสบการณ์

 ไม่น้อยกว่า  4 หน่วยกิต

ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี     

                 6 หน่วยกิต

ง.  หมวดวิชาโท

               18 หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

             130 หน่วยกิต

 

 


image




คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา           
           มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 หมวด 3 ข้อ 12 คือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัย



Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top