Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย 65

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

          ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Thai

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย)

          ชื่อย่อ: ศศ.บ. (ภาษาไทย)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Thai)

          ชื่อย่อ:  B.A. (Thai)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ปรัชญาหลักสูตร

          ตระหนักในคุณค่าภาษาและวัฒนธรรมไทย สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์การเรียนรู้สู่สากล

ความสำคัญของหลักสูตร

          การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมท่ามกลางบริบทการเปิดเศรษฐกิจเสรี จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในด้านการสื่อสาร มีภาพลักษณ์ที่ดี และมีความรู้ความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน

         การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรจึงมุ่งเน้นการผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ด้านภาษาไทยให้เป็นไปตามกรอบผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนิสิตนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ได้แก่นักสื่อสารมวลชน นักพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ บรรณาธิการ นักเขียน และนักวิชาการ


วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

     1) มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทยเป็นอย่างดี ตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปศึกษาต่อได้ในระดับสูง

     2) สามารถนำความรู้ภาษาไทยไปบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่นในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม กอปรด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

     3) มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางภาษาและวรรณกรรมไทยอย่างมีจรรยาบรรณและมีจิตสำนึกสาธารณะ

     4) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานภาษาไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยคำนึงถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางความรู้ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม

 

จุดเด่นของหลักสูตร

   1. มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทยเป็นอย่างดี และตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทยกอปรด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

   2. สามารถนำความรู้ภาษาไทยไปบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่น ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม หรือศึกษาต่อระดับสูง

   3. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานภาษาไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยคำนึงถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางความรู้ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

   1. นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยทางภาษาไทย

   2. นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ

   3. นักสื่อสารมวลชน มัคคุเทศก์ ล่าม ประชาสัมพันธ์

   4. ประกอบอาชีพ อิสระตามความถนัดของตน





โครงสร้างหลักสูตร

              หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้


หมวดวิชา

           หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                   

              30  หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ                                         ไม่น้อยกว่า

    2.1  วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์                        

    2.2  วิชาบังคับ                                           ไม่น้อยกว่า

    2.3  วิชาเลือก                                            ไม่น้อยกว่า

    2.4  วิชาเสริมสร้างประสบการณ์                        ไม่น้อยกว่า

              79  หน่วยกิต

                9  หน่วยกิต

              46  หน่วยกิต

              18  หน่วยกิต

                6  หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                       ไม่น้อยกว่า

              20  หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

             129  หน่วยกิต



 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

 

ชุดวิชาการเรียนรู้และการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

 

มศว191

การเรียนรู้สู่โลกในศตวรรษที่ 21

3(2-2-5)

มศว192

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาบังคับ)

8

 

ชุดวิชาภาษาไทยพื้นฐาน

 

ทย111

ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย

3(3-0-6)

ทย121

ทักษะการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ

3(2-2-5)

ทย141

ภาษาและวรรณกรรมในชีวิตประจำวัน

2(2-0-4)

 

รวม

14

 

 ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

12

 

ชุดวิชาศิลปะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ

 

มศว193

การฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

3(2-2-5)

มศว194

การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

3(2-2-5)

 

ชุดวิชามศว เพื่อสังคม

 

มศว195

พลเมืองสร้างสรรค์สังคม

3(2-2-5)

มศว196

ศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาบังคับ)

6

 

ชุดวิชาการใช้ภาษาไทย

 

ทย122

การนำเสนอและบรรยายสรุป

3(2-2-5)

ทย123

การเขียนเชิงวิชาการ

3(3-0-6)

 

รวม

18

 


ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

 

ชุดวิถีชีวิตที่ชาญฉลาด

 

มศว291

วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ

3(2-2-5)

มศว292

วิทยาศาสตร์ กุญแจสู่การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาบังคับ)

11

 

ชุดวิชาวรรณคดีไทย

 

ทย231

พัฒนาการวรรณคดีไทย

2(2-0-4)

ทย232

วรรณคดีเอกของไทย

3(3-0-6)

 

ชุดวิชาภาษาศาสตร์ภาษาไทย

 

ทย212

ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

ทย213

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

3(3-0-6)

 

รวม

17

 

 ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

 

ชุดวิชาการพัฒนาทักษะการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ

 

มศว197

การพูดและการนำเสนองานเพื่ออาชีพ

3(2-2-5)

มศว198

การเตรียมพร้อมสู่การทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาบังคับ)

4

 

ชุดวิชาภูมิปัญญาสร้างสรรค์

 

ทย242

คติชนวิทยา

2(2-0-4)

ทย243

ภูมิปัญญาในภาษาและวรรณคดีไทย

2(2-0-4)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาเลือก)

9

 

รวม

19

 


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์)

5

มนส321

ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ

2(1-2-3)

มนส322

ศิลปะของการสื่อสารอย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาบังคับ)

5

 

ชุดวิชาวรรณกรรมกับสังคม

 

ทย336

วรรณกรรมไทยปัจจุบัน

2(2-0-4)

ทย337

การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมไทย

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเลือกเสรี                                        ไม่น้อยกว่า

8

 

รวม

18

 

 ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์)

4

อสม311

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาเฉพาะศาสตร์

2(1-2-3)

อสม312

ภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

2(1-2-3)

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาบังคับ)

12

 

ชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการอาชีพ

 

ทย351

ศิลปะการเล่าเรื่อง

3(2-2-5)

ทย352

การพูดเพื่ออาชีพ

3(2-2-5)

ทย353

การเขียนในสื่อออนไลน์

3(2-2-5)

ทย354

ภาษาไทยธุรกิจ

3(2-2-5)

 

หมวดวิชาเลือกเสรี                                        ไม่น้อยกว่า

5

 

รวม

21

 


ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาเลือก)

9

 

หมวดวิชาเลือกเสรี                                        ไม่น้อยกว่า

7

 

รวม

16

 

 ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ (วิชาเสริมสร้างประสบการณ์)        ไม่น้อยกว่า

เลือกศึกษา 1 ชุดวิชา

6

 

ทย461

ชุดวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ทางภาษาและวรรณคดีไทย

สัมมนาทางภาษาและวรรณคดีไทย

 

2(0-4-2)

ทย462

การศึกษาอิสระ

4(0-8-4)

 

หรือ

 

 

ชุดวิชาปฏิบัติการทางภาษาไทย               เลือกศึกษา 1 รายวิชา

 

ทย463

ประสบการณ์งานอาชีพ

6(0-18-0)

ทย464

สหกิจศึกษา

6(0-18-0)

 

รวม

6

 

 

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

   1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

   2. มีคะแนนเฉลี่ยของผลการสอบตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
   3. ผู้เรียนชาวต่างประเทศต้องสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ในระดับดี และสอบผ่านการวัดระดับความสามารถภาษาไทยตามที่คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร



คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)




Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top