Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย:  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

          ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Science Program in Psychology

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา)

          ชื่อย่อ:  วท.บ. (จิตวิทยา)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Science (Psychology)

          ชื่อย่อ:  B.Sc. (Psychology)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ปรัชญาหลักสูตร

จิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ให้เต็มศักยภาพ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนความหลากหลาย

ความสำคัญของหลักสูตร

          จากแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ให้อุดมศึกษาไทย เป็นแหล่งสร้างปัญญาให้สังคม นำทางไปสู่การเปลี่ยนแปลง สร้างนวัตกรรม ความรู้ งานวิจัย ที่เสนอทางเลือกและแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาประเทศ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ เช่น การบริการ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการใหม่ ๆ เป็นต้น ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อผู้อื่นในเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือ สามารถขยายผลต่อไปได้ในเชิงพาณิชย์ การปรับตัวของอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ

ดังนั้น หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาจิตวิทยา จึงปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนอุดมศึกษา โดยเน้นการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้เป็นพลเมืองคุณภาพ คือ ดี เก่ง และมีความสุข รวมทั้ง เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยผ่านการจัดการเรียนรู้ให้กับนิสิตและคนวัยแรงงาน การพัฒนาหลักสูตรเป็นการบูรณาการทั้งรายวิชาภายในสาขาจิตวิทยา และข้ามสาขาวิชา ในลักษณะชุดวิชา (Module Course) เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในทางวิชาการและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในองค์ความรู้ทางจิตวิทยาที่มีความทันสมัย ให้เกิดความครอบคลุมในขอบเขตศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาพื้นฐานและศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาประยุกต์ต่าง ๆ และมีอิสระในการเลือกเรียนศาสตร์ที่ตนสนใจ ซึ่งมีในชุดวิชาเลือกเสรีของมหาวิทยาลัยอีกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีการเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตทางด้านภาษาอังกฤษและการทำงานในยุคดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของบัณฑิตในการแข่งขันระดับประเทศและสากล รวมทั้ง หลักสูตรฯ ยังให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติมากขึ้น มีการฝึกประสบการณ์ในหน่วยงาน และการทำโครงการวิจัยที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาต่อ หรือประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอย่างไรก็ดี จากการสำรวจข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร วท.บ.สาขาวิชาจิตวิทยา พบว่า บัณฑิตจำนวนหนึ่งประกอบอาชีพที่ไม่ใช่วิชาชีพจิตวิทยาโดยตรง และปฏิบัติงานอยู่ในหลากหลายวงการ รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ เนื่องจากศาสตร์จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่บูรณาการเข้ากับการประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย ดังนั้น หลักสูตรจึงได้มีการจัดโครงการเตรียมความพร้อมด้านเจตคติเพื่อการปรับตัวก่อนการฝึกงานให้กับนิสิตสาขาจิตวิทยาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โครงการเสริมสร้างภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมเพื่อก้าวเข้าสู่โลกอาชีพ ช่วงเดือนเมษายน ที่อาจจะไม่ได้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับวิชาชีพจิตวิทยาโดยตรง ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรที่ให้ความรู้ด้านจิตวิทยาแก่นิสิตจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานทำให้กับบัณฑิตของหลักสูตร และยังสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถที่มีความหลากหลายมากขึ้น

นอกจากนี้ หลักสูตรฯ ยังมีการส่งเสริมให้นิสิตเรียนรู้จากการบริการวิชาการเพื่อรับใช้สังคมด้วย เช่น โครงการค่ายพัฒนาทักษะชีวิตวัยรุ่น โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านจิตวิทยาสู่ชุมชน โดยให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการบูรณการใช้ความรู้ความสามารถและทักษะตามที่ได้ศึกษาในรายวิชาต่าง ๆ ร่วมกับการทำกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อสังคม จึงทำให้บัณฑิตจิตวิทยามีความสมบูรณ์ในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขเป็นรากฐานและทุนมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตร คือ จิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์ให้เต็มศักยภาพ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนความหลากหลาย

          เนื่องจากการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงและกระทบกับการจัดการศึกษาอย่างรวดเร็ว หลักสูตร วท.บ. จิตวิทยา จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการศึกษาใหม่อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ให้ทันท่วงที โดยการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การปรับปรุงเรื่องคุณภาพการจัดศึกษาให้ทันกับสถานการณ์ รวมทั้ง กระบวนการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้วย ทั้งนี้ ในการปรับปรุงหลักสูตร วท.บ. จิตวิทยา ได้ใช้ต้นทุนเดิมหรือจุดแข็งที่หลักสูตรฯ มีมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยลัย ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้ง ศิษย์เก่า และมีการถ่ายทอดให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนเปิดการศึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนและก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย


วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

        1. มีความร้คู วามเข้าใจในหลักการ และแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา

        2. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวัดและเครื่องมือทางจิตวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ และการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่บุคคล โดยอยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณทางวิชาชีพจิตวิทยา

        3. วิเคราะห์ศักยภาพของตนเองและผู้อื่น สามารถปรับตัว ประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ทางจิตวิทยาในสถานการณ์ต่าง ๆ บนพื้นฐานการยอมรับในความหลากหลายของบุคคล เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

 

จุดเด่นของหลักสูตร

   1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ และแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา

   2. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวัดและเครื่องมือทางจิตวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ และการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่บุคคล โดยอยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณทางวิชาชีพจิตวิทยา

   3. ตระหนักรู้ในศักยภาพของตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ

 

 อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักจิตวิทยาประจำหน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพจิต และหน่วยงานบริการสังคม

2. พนักงานการจัดการทรัพยากรมนุษย์

3. นักออกแบบและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคล นักพัฒนาบุคลิกภาพ

4. นักจิตวิทยาพัฒนาการรับผิดชอบการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกช่วงวัย รวมทั้งการดูแลผู้สูงอายุ

5. บุคลากรในองค์กรที่ทำหน้าที่ออกแบบ สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล วิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมบุคคล นักวิจัยอิสระ ผู้ช่วยวิจัย นักวิจัยการตลาด

6. อาจารย์ผู้สอนในสถานศึกษา



โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้


                หมวดวิชา

หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ

     2.1 วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์

     2.2 วิชาบังคับ

     2.3 วิชาเลือก

     2.4 วิชาการฝึกประสบการณ์การทำงานและการวิจัย

77 หน่วยกิต

 9 หน่วยกิต

47 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

  6 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี

ไม่น้อยกว่า       20 หน่วยกิต

                รวมไม่น้อยกว่า

127 หน่วยกิต

 



ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

6 หน่วยกิต

ชุดวิชาการเรียนรู้และการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

 

มศว191

การเรียนรู้สู่โลกในศตวรรษที่ 21    

3(2-2-5)

มศว192

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

3(2-2-5)

วิชาเฉพาะ

13 หน่วยกิต

ชุดวิชามนุษยศาสตร์กับการสื่อสาร

มนส211

ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ

2(1-2-3)

มนส212

ศิลปะของการสื่อสารอย่างมีเหตุผลและประสิทธิภาพ

3(2-2-5)

ชุดวิชามโนทัศน์พื้นฐานทางจิตวิทยา

จต101

จิตวิทยาพื้นฐาน

2(2-0-4)

จต102

ชีวจิตวิทยาเบื้องต้น

3(3-0-6)

จต103

การรับสัมผัสและการรับรู้

3(3-0-6)

รวม

19 หน่วยกิต













ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

12 หน่วยกิต

ชุดวิชาศิลปะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ

มศว193

การฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 

3(2-2-5)

มศว194

การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

3(2-2-5)

ชุดวิชามศว เพื่อสังคม

มศว195

พลเมืองสร้างสรรค์สังคม

3(2-2-5)

มศว196

ศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

3(2-2-5)

วิชาเฉพาะ

9 หน่วยกิต

ชุดวิชาจิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล

จต111

จิตวิทยาพัฒนาการ

3(3-0-6)

จต112

จิตวิทยาสังคม

3(3-0-6)

จต113

อารมณ์และแรงจูงใจ

3(3-0-6)

รวม

21 หน่วยกิต












ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

6 หน่วยกิต

ชุดวิชาวิถีชีวิตที่ชาญฉลาด

มศว291

วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ

3(2-2-5)

มศว292

วิทยาศาสตร์ กุญแจสู่การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

3(2-2-5)

วิชาเฉพาะ

13 หน่วยกิต

ชุดวิชาภาษาอังกฤษและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโลกสมัยใหม่

 

อสม221

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาเฉพาะศาสตร์

2(1-2-3)

อสม222

ภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

2(1-2-3)

ชุดวิชาจิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

จต211

จิตวิทยาการเรียนรู้ 

3(3-0-6)

จต212

ทฤษฎีบุคลิกภาพ

3(3-0-6)

จต213

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

3(3-0-6)

รวม

19 หน่วยกิต












ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

6 หน่วยกิต

ชุดวิชาการพัฒนาทักษะการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ

มศว197

การพูดและการนำเสนองานเพื่ออาชีพ

3(2-2-5)

มศว198

การเตรียมพร้อมสู่การทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ

3(2-2-5)

วิชาเฉพาะ

9 หน่วยกิต

ชุดวิชาการวิเคราะห์พฤติกรรมและการให้คำปรึกษา

จต214

การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาเบื้องต้น

3(2-2-5)

จต215

ความผิดปกติทางจิตใจ

3(3-0-6)

จต216

แบบทดสอบทางจิตวิทยา

3(2-2-5)

ชุดวิชาเลือกเสรี 

6 หน่วยกิต

รวม

21 หน่วยกิต














ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ

หน่วยกิต

กลุ่มวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (เลือก 1 ชุดวิชา 9 หน่วยกิต)                            

1) ชุดวิชาการประเมิน ส่งเสริม และกระตุ้นพัฒนาการ

2) ชุดวิชาจิตวิทยาเพื่อการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

3) ชุดวิชาการส่งเสริมสุขภาพจิต

ชุดวิชาเลือกเสรี 

8 หน่วยกิต

รวม

17 หน่วยกิต












ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ

12 หน่วยกิต

ชุดวิชาสถิติ การวัด และการทดสอบทางจิตวิทยา

จต301

สถิติสำหรับจิตวิทยา

3(2-2-5)

จต302

การวัดและการทดสอบทางจิตวิทยา

3(2-2-5)

กลุ่มวิชาจิตวิทยากับพลวัตทางสังคม (เลือก 1 ชุดวิชา 6 หน่วยกิต)                                          

1) ชุดวิชาจิตวิทยาสัมพันธภาพเชิงบวก

2) ชุดวิชาจิตวิทยากับประเด็นความหลากหลายทางสังคม

3) ชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและการดูแลผู้สูงวัย

4) ชุดวิชาจิตวิทยากับสื่อสร้างสรรค์สังคม

ชุดวิชาเลือกเสรี 

6 หน่วยกิต

รวม

18 หน่วยกิต











ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ

6 หน่วยกิต

จต401

การสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา

3(2-2-5)

จต402

วิธีการวิจัยทางจิตวิทยา

3(2-2-5)

รวม

6 หน่วยกิต






ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ: วิชาการฝึกประสบการณ์การทำงานและการวิจัย จำนวน 6 หน่วยกิต กำหนดให้เลือกเรียนจาก ชุดวิชาการฝึกงานและการวิจัย หรือ รายวิชาสหกิจศึกษา

      1) ชุดวิชาการฝึกงานและการวิจัย (6 หน่วยกิต)

จต491

โครงการวิจัยทางจิตวิทยา

3(0-9-6)

จต492

การฝึกงานและการสัมมนาประสบการณ์ในหน่วยงาน

3(0-9-6)

      2) รายวิชาสหกิจศึกษา (6 หน่วยกิต)

จต493

สหกิจศึกษา

  6(0-40-0)

รวม

6 หน่วยกิต













คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top