Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย:  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

          ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Science Program in Psychology

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา)

          ชื่อย่อ:  วท.บ. (จิตวิทยา)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Science (Psychology)

          ชื่อย่อ:  B.Sc. (Psychology)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ปรัชญาหลักสูตร

พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่เต็มศักยภาพ และส่งเสริมให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนความหลากหลาย

ความสำคัญของหลักสูตร

          สืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในปัจจุบันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ อย่างมากมาย ขณะเดียวกันสถานการณ์การปรับตัวเข้าสู่การสร้างภาคีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียจนเกิดเป็นประชาคมอาเซียน(ASEAN) จะนำไปสู่การถ่ายโอนแรงงานอย่างเสรีมากยิ่งขึ้นจึงเป็นเหตุกระตุ้นให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) และตามกรอบแนวคิดโมเดลประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างความแข็งแกร่งของระบบและโครงสร้างต่างๆ ภายในประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีของประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญต่อการนำทุนทางด้านเศรษฐกิจ ทุนสังคมที่มีอัตลักษณ์ และมีคุณค่าเฉพาะตัวของชาติมาบูรณาการร่วมกับทุนมนุษย์ที่มี

คุณภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จำเป็นที่จะต้องสร้างทรัพยากรบุคคลของไทยให้ เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีศักด์ิศรีสามารถก้าวเข้าสู่สากลได้อย่างเต็มภาคภูมิ มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีดิจิตัลต่างๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ อย่างแท้จริง สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เกิดทักษะในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ

          หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาจิตวิทยา ได้มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องด้วยการบูรณาการทั้งภายในสาขาจิตวิทยา และข้ามสาขาวิชา เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในทางวิชาการและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในองค์ความรู้ทางจิตวิทยาที่มีความทันสมัย ให้เกิดความครอบคลุมในขอบเขตศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาพื้นฐานและศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาประยุกต์ต่างๆ อีกทั้งมีการเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาสู่สากล และการเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติมากขึ้นผ่านการนำความรู้ไปใช้ในการฝึกประสบการณ์ในหน่วยงาน และบริการวิชาการเพื่อรับใช้สังคมที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาต่อ หรือประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเกิดการพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้มีความสมบูรณ์ในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขเป็นรากฐานและทุนมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตร คือ พัฒนาคนให้ เป็นมนุษย์ที่เต็มศักยภาพ และส่งเสริมให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนความหลากหลาย


วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

        1. มีความร้คู วามเข้าใจในหลักการ และแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา

        2. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวัดและเครื่องมือทางจิตวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัย

พฤติกรรมมนุษย์ และการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่บุคคล โดยอยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณทางวิชาชีพจิตวิทยา

        3. ตระหนักรู้ในศักยภาพของตนเองและผู้อื่นยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถ

ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ

 

จุดเด่นของหลักสูตร

   1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ และแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา

   2. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวัดและเครื่องมือทางจิตวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ และการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่บุคคล โดยอยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณทางวิชาชีพจิตวิทยา

   3. ตระหนักรู้ในศักยภาพของตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ

 

 อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักจิตวิทยา ปฏิบัติหน้าที่ด้านการให้คำปรึกษา ดูแล ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพจิต

2. นักจิตวิทยา ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานต่างๆ

          3. อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยาในการปฏิบัติงานด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และด้านสวัสดิการสังคม



โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 145 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

หมวดวิชา

หน่วยกิต

ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

ข.  หมวดวิชาเฉพาะ

ไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต

         -   วิชาบังคับภาษาอังกฤษ

               12 หน่วยกิต

         -   พื้นฐานวิชาเอก

               18 หน่วยกิต

         -   วิชาเอกบังคับ

               35 หน่วยกิต

         -   วิชาเอกเลือก

 ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

         -   วิชาฝึกงาน

 ไม่น้อยกว่า  3 หน่วยกิต

ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี 

                 6 หน่วยกิต

ง.  หมวดวิชาโท

               18 หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

             137 หน่วยกิต

 



image

image

image

image

image

image

image

image


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top