Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (4 ปี)

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (4 ปี)

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย: หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย

          ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Education Program in Thai

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: การศึกษาบัณฑิต (ภาษาไทย)

          ชื่อย่อ:  กศ.บ. (ภาษาไทย)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Education (Thai)

          ชื่อย่อ:  B.Ed. (Thai)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ปรัชญาหลักสูตร

          ครูภาษาไทยท่เีป่ียมด้วยความรู้และคุณธรรม จริยธรรมแห่งความเป็นครูมุ่งพัฒนาตนและพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ความสำคัญของหลักสูตร

          ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม กอบกู้วิกฤตด้วยการสร้างคน สร้างความรู้ด้วยการจัดการการศึกษาที่ดีที่สุดเพื่อสร้างคนดีคนเก่ง คนที่มีความสุข มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองและพลโลกที่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ เพื่อไปทำหน้าที่ให้ความรู้สามารถจัดการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ตลอดจนให้การอบรมบ่มนิสัย ให้แก่เยาวชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนทั่วประเทศ ให้บัณฑิตครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการร่วมคิด ร่วมใจ ร่วมทำกับคนในชุมชนในสังคม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการหล่อหลอมเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้เท่าเทียมกันอย่างเต็ม ตาม

ศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อการดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ บัณฑิตครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในการสร้างคน สร้างชาติ โดยการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนของประเทศหลักสูตรนี้จำเป็นต้องสร้างให้ตอบสนอง ความต้องการของชุมชนและสังคม สอดคล้องกับนโยบายและแผนการศึกษาชาติ


วัตถุประสงค์หลักสูตร

          เพ่ือผลิตบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยท่ีมีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์การเรียนรู้แนวใหม่ มีความเป็นครูและเป็นนักวิชาการที่พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมแห่งความเป็นครู บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะมีคุณลักษณะ ดังนี้

          1) มีความรู้ในศาสตร์ภาษาไทยอย่างลึกซึ้งและมีความรอบรู้ ใฝ่ รู้ และเชี่ยวชาญในศาสตร์การศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

          2) มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำทางการศึกษา มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อสังคม

          3) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้หลักประสานประโยชน์ส่วนรวมตามวิถีประชาธิปไตยเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

          4) สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมกับการจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

          5) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย และนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย มีทักษะการวิเคราะห์และประมวลผลเชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนา

การเรียนรู้

 

จุดเด่นของหลักสูตร

           หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพด้านภาษาไทย เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์การเรียนรู้แนวใหม่ มีความเป็นครูและเป็นนักวิชาการที่พร้อมด้วยคุณธรรม บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะมีคุณลักษณะ ดังนี้

 

1. มีความรู้ ใฝ่รู้ครอบคลุมทั้งในศาสตร์หลายสาขาและศาสตร์สาขาวิชาเฉพาะ สามารถจัดการความรู้ในเชิงสหวิทยาการอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ

2. มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพจริง ตลอดจนมีความคิด ริเริ่ม และสร้างสรรค์ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

3. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณในวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำทางการศึกษา มีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้หลักประสานประโยชน์ส่วนรวมตามวิถีประชาธิปไตย เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ธำรงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาไทย

4. ผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นผู้สอนภาษาและวรรณคดีไทยและเป็นผู้วิจัยการเรียนการสอนภาษาไทย

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ครูสอนภาษาไทยระดับปฐมวัยศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน

2. นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาไทย

3. นักวิชาการทางด้านภาษาไทยและวิธีสอนภาษาไทย

4. นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา

5. นักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาภาษา

6. ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนาและบริการทางการศึกษา

7. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลากร ฝึกอบรม

8. ผู้จัดการเรียนรู้ศูนย์สำหรับเด็กตามช่วงวัยต่าง ๆ

          9. อาชีพอื่น ๆ ในหน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน




โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 145 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

รายละเอียดวิชา

หน่วยกิต

1.     หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

2.     หมวดวิชาเฉพาะ

2.1.   กลุ่มวิชาชีพครู  

2.1.1.      วิชาชีพครูบังคับ

1)     วิชาชีพครู

2)     วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน

(เรียนปี 1, 2 และ 3 วิชาละ 2 หน่วยกิต)

3)     วิชาการปฏิบัติการสอนและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1.2.   กลุ่มวิชาเอก 

1.2.1.      วิชาเอก

1.2.2.      วิชาเสริมสร้างสมรรถนะวิชาเอก*

3.   หมวดวิชาเลือกเสรี 

30

109

40

 

28

6

 

6

69

45

24

 

6

รวมไม่น้อยกว่า

145




image

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการพิเศษต่าง ๆ เช่น โครงการพหุปัญญาเลิศ โครงการบัณฑิตคืนถิ่น โครงการนิสิตเพชรในตม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น










คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการพิเศษต่าง ๆ เช่น โครงการพหุปัญญาเลิศ โครงการบัณฑิตคืนถิ่น โครงการนิสิตเพชรในตม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น




Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top