หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (4 ปี)
(หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2562)
ชื่อสถาบันศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะ/สถาบัน/สำนัก คณะมนุษยศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (4 ปี)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of
Education Program in English
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): การศึกษาบัณฑิต
(ภาษาอังกฤษ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): กศ.บ. (ภาษาอังกฤษ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of
Education (English)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Ed. (English)
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
4 ปี
ปรัชญาหลักสูตร
ครูภาษาอังกฤษที่เปี่ยมด้วยความรู้
และคุณธรรม จริยธรรมแห่งความเป็นครู มุ่งพัฒนาตนและพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม
กอบกู้วิกฤตด้วยการสร้างคน สร้างความรู้ ด้วยการจัดการการศึกษาที่ดีที่สุดเพื่อสร้างคนดี
คนเก่ง คนที่มีความสุข มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองและพลโลกที่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก
วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
เพื่อไปทำหน้าที่ให้ความรู้ สามารถจัดการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ตลอดจนให้การอบรมบ่มนิสัย
ให้แก่เยาวชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนทั่วประเทศให้บัณฑิตครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการร่วมคิด
ร่วมใจ ร่วมทำกับคนในชุมชน ในสังคม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการหล่อหลอมเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน
อย่างเต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อการดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ
บัณฑิตครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่ง ในการสร้างคน สร้างชาติโดยการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนของประเทศ
หลักสูตรนี้จำเป็นต้องสร้างให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม
สอดคล้องกับนโยบายและแผนการศึกษาชาติ
วัตถุประสงค์หลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ
เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ การเรียนรู้แนวใหม่
มีความเป็นครูและเป็นนักวิชาการที่พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมแห่งความเป็นครู บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะมีคุณลักษณะ
ดังนี้
1) มีความรู้ในศาสตร์ภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้งและมีความรอบรู้
ใฝ่รู้ และเชี่ยวชาญในศาสตร์การศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
2) มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
มีความเป็นผู้นาทางการศึกษา มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อสังคม
3) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้หลักประสานประโยชน์ส่วนรวมตามวิถีประชาธิปไตยเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
4)
สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมกับการจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม
และใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
1. เป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการข้ามหลักสูตรอย่างแท้จริง
เป็นการร่วมผลิตบัณฑิตวิชาชีพครูระหว่างคณะศึกษาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์
โดยคณะศึกษาศาสตร์จัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีพครู
คณะมนุษยศาสตร์จัดการเรียนการสอนในวิชาเอก ทั้งนี้นิสิตได้เรียนอย่างเข้มข้นทั้งวิชาชีพครูและวิชาเอก
จบการศึกษาภายในเวลา 4 ปี
2.เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ
โดยมีกระบวนการผลิตการพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
เมื่อจบการศึกษาบัณฑิตจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (Teaching license) โดยมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
ตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน
และมาตรฐานการปฏิบัติตน ของคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
3. นิสิตได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างเข้มข้น
1 ปี (2 ภาคการศึกษา) ในโรงเรียนที่มีสภาพการเรียนการสอนจริง
และได้รับการฝึกฝนให้ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อต่อยอดสำหรับการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการเรียนรู้
เมื่อออกไปปฏิบัติการสอนจริง
บัณฑิตหลักสูตร กศ.บ.
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตด้านการศึกษาวิชาชีพครู
สาขาวิชาภาษาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อเป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ
มีความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนานาชาติ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ
เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์การเรียนรู้แนวใหม่
มีความเป็นครูและเป็นนักวิชาการที่พร้อมด้วยคุณธรรม
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มีความรู้
ใฝ่รู้ครอบคลุมทั้งในศาสตร์หลายสาขาและศาสตร์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
สามารถจัดการความรู้ในเชิงสหวิทยาการอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์
สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม
สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
2. มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพจริง ตลอดจนมีความคิด ริเริ่ม
และสร้างสรรค์ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
3. มีคุณธรรม
จริยธรรม และจรรณยาบรรณในวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำทางการศึกษา
มีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้หลักประสานประโยชน์ส่วนรวมตามวิถีประชาธิปไตย
เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ธำรงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาไทย
อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตหลักสูตร
กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ดังนี้
ด้านวิชาชีพครู/วิชาการ
1. ครูสอนภาษาอังกฤษระดับปฐมวัยศึกษา
ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน
2. นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาอังกฤษ
3. นักวิชาการทางด้านภาษาอังกฤษและวิธีสอนภาษาอังกฤษ
4. นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
ด้านพัฒนาวิชาการ
1. นักพัฒนาสื่อ
นวัตกรรมทางการศึกษาภาษา
2. ผู้จัดโครงการส่งเสริม
พัฒนาและบริการทางการศึกษา
3. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บุคลากร ฝึกอบรม
ด้านบริการวิชาการ
ผู้จัดการเรียนรู้ศูนย์สำหรับเด็กตามช่วงวัยต่างๆ
อาชีพอื่น ๆ
อาชีพอื่น ๆ
ที่ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษในหน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้เข้าเป็นนิสิตต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับขั้นเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
และมีคุณสมบัติทั่วไปเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548
หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
เปิดรับนิสิตใหม่ปีการศึกษาละประมาณ 25 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือเทียบเท่า
2. คุณสมบัติอื่น
ๆ ตามประกาศของมหาวิทยาลัยการรับเข้าเป็นนิสิต ใช้วิธีดังต่อไปนี้
การรับเข้าเป็นนิสิต
ใช้วิธีดังต่อไปนี้
1. สอบคัดเลือก กรณีสอบกลาง (Admissions) โดยมีเกณฑ์การพิจารณาเป็นไปตามเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถานศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง
คิดสัดส่วนคะแนนต่าง ๆ ดังนี้
- GPAX 20%
- O-NET 30% (มีคะแนนวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50)
- GAT 30%
- PAT (วัดความถนัดทางวิชาชีพครู) 50%
2. คัดเลือก
3. รับโอนนิสิต
จากสถาบันอุดมศึกษาอื่น
4.
รับเข้าตามข้อตกลงของมหาวิทยาลัยหรือโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัย