หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.
2560)
ชื่อสถาบันศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะ/สถาบัน/สำนัก คณะมนุษยศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts
Program in Thai
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย)
ชื่อย่อ: ศศ.บ. (ภาษาไทย)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม: Bachelor of
Arts (Thai)
ชื่อย่อ: B.A. (Thai)
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
4 ปี
ปรัชญาหลักสูตร
ศึกษาและตระหนักคุณค่าภาษาไทย
สื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ
ความสำคัญของหลักสูตร
การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมท่ามกลางบริบทการเปิดเศรษฐกิจเสรีจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร
เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในด้านการสื่อสารมีภาพลักษณ์ที่ดี
และมีความรู้ความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรจึงมุ่งเน้นการผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทย
เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยทางภาษาไทย
นักเขียนนักวิจารณ์
บรรณาธิการ นักสื่อสารมวลชน มัคคุเทศก์ ล่าม ประชาสัมพันธ์
หรือประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดของตน
วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ
ดังนี้
1.3.1
มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทยเป็นอย่างดีและตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทยกอปรด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
1.3.2 สามารถนำความรู้ภาษาไทยไปบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่น
ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม หรือศึกษาต่อระดับสูง
1.3.3 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ส่งเสริม
และสืบสานภาษาไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติโดยคำนึงถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางความรู้
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
วิชาเอก/แขนงวิชา
1. ภาษาและวรรณคดีไทย
2. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ
(สำหรับผู้เรียนที่มิได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 1
(นิสิตแลกเปลี่ยน))
จุดเด่นของหลักสูตร
1. มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทยเป็นอย่างดี
และตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทยกอปรด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
2. สามารถนำความรู้ภาษาไทยไปบูรณาการกับศาสตร์แขนงอื่น
ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม หรือศึกษาต่อระดับสูง
3. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ส่งเสริม
และสืบสานภาษาไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
โดยคำนึงถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางความรู้ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยทางภาษาไทย
2. นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ
3. นักสื่อสารมวลชน มัคคุเทศก์ ล่าม ประชาสัมพันธ์
4. ประกอบอาชีพ อิสระตามความถนัดของตน