Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน

(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย:  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน

          ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Arts Program in ASEAN Languages and Cultures

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน)

          ชื่อย่อ: ศศ.บ. (ภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (ASEAN Languages and Cultures)

          ชื่อย่อ:  B.A. (ASEAN Languages and Cultures)


รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี


ปรัชญาหลักสูตร

          จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร เข้าใจสังคม และวัฒนธรรม สู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน


ความสำคัญของหลักสูตร

         การก้าวเข้าสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศไทย  ส่งผลให้บัณฑิตจำเป็นต้องมีสมรรถนะสำคัญทางภาษาเพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพ และมีความสามารถในการทำงานรวมถึงการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองต่อตลาดแรงงานในยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นตลาดเสรีและมีความเป็นสากล  ดังนั้น สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาควรพัฒนาศักยภาพบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ  โดยเฉพาะภาษาอาเซียน เช่น ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาลาว  และภาษาอินโดนีเซีย เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งภายในประเทศ  ประชาคมอาเซียน  และระดับสากล
        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการสื่อสารภาษาอาเซียนในระดับปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม  เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อสังคม พหุวัฒนธรรม สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะด้านการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และพัฒนาสังคมไทยเพื่อไปสู่ประชาคมอาเซียนและสังคมโลก

วัตถุประสงค์หลักสูตร ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

          1. มีความรู้และทักษะการสื่อสารภาษาอาเซียนในการประกอบอาชีพ

          2. มีความรู้ความเข้าใจด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

          3. มีความสามารถในการบูรณาการและปรับตัวข้ามวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน

          4. มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อวิชาการ วิชาชีพ และสังคม

          5. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  และแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพในอนาคต

 

จุดเด่นของหลักสูตร

   1. สามารถสื่อสารภาษาอาเซียนได้มากกว่า 1 ภาษา

   2. หลักสูตรเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาอาเซียน

   3. หลักสูตรสามารถเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถฝึกภาษาในต่างประเทศ

   4. ประยุกต์ใช้ภาษาอาเซียนในบริบททางอาชีพ

   5. เรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติมากกว่า 2 วัฒนธรรม


อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

   1. ทำงานในด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เช่น ล่าม นักแปล หรือหน่วยงานที่ต้องใช้ความสามารถด้านภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน

   2. ทำงานในด้านสื่อสารมวลชนหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์

   3. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับประเทศในประชาคมอาเซียน

   4. เจ้าหน้าที่ในองค์กรธุรกิจต่างประเทศทั้งในระดับเขตเศรษฐกิจอาเซียน และระดับนานาชาติ

   5. ทำงานในด้านการศึกษา

  6. อาชีพอิสระ ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านการสื่อสารภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน




โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

 

หมวดวิชา

หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

             30 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ

              76 หน่วยกิต

         2.1 วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์     

               9 หน่วยกิต

         2.2 วิชาบังคับ

               18 หน่วยกิต

         2.3 วิชาเลือก*

               43 หน่วยกิต

         2.4  วิชาพัฒนาทักษะและสริมสร้างประสบการณ์**

                6 หน่วยกิต

ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี     

                 20 หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า

                   130 หน่วยกิต   


 

 


ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว191

มศว192

 

 

ภวอ101

ภวอ102

ภวอ103

วิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาการเรียนรู้และการสื่อสารในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้สู่โลกในศตวรรษที่ 21

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร          

วิชาบังคับ

ชุดวิชาปริทัศน์อาเซียน

อาเซียนศึกษา

ประวัติศาสตร์ประเทศอาเซียน

ภูมิปัญญาและอารยธรรมในอาเซียน        

 

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

9 หน่วยกิต

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

 

รวม

15 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว195

มศว196

 

มศว193

มศว194

 

 

 

ภวอ104

ภวอ105

ภวอ106

วิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชามศว เพื่อสังคม

พลเมืองสร้างสรรค์สังคม

ศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน                                                 

ชุดวิชาศิลปะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ  

การฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ   

การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ            

 

วิชาบังคับ

ชุดวิชาภาษากับการสื่อสารในสังคมอาเซียนร่วมสมัย                                              

วรรณกรรมอาเซียน

ประเด็นร่วมสมัยในสังคมอาเซียนบนสื่อสาธารณะ

ภาษากับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมอาเซียน

 

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

 

9 หน่วยกิต

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

 

รวม

21 หน่วยกิต

 

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว291

มศว292

 

 

อสม211

อสม212

 

วิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาวิถีชีวิตที่ชาญฉลาด                            

วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ             

วิทยาศาสตร์ กุญแจสู่การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล 

วิชาแกนคณะมนุษศาสตร์

ชุดวิชาภาษาอังกฤษและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโลกสมัยใหม่    

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาเฉพาะศาสตร์

ภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยสารสนเทศ      

 

ชุดวิชาเลือก*

 

หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

4 หน่วยกิต

          2(1-2-3)           

2(1-2-3)

 

8 หน่วยกิต

 

รวม

18 หน่วยกิต

 

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

 

มศว197

มศว198 

 

 

มนส221

มนส222

วิชาศึกษาทั่วไป

ชุดวิชาการพัฒนาทักษะการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ                                       

การพูดและการนำเสนองานเพื่ออาชีพ  

การเตรียมพร้อมสู่การทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ 

วิชาแกนคณะมนุษยศาสตร์

ชุดวิชามนุษยศาสตร์กับการสื่อสาร    

ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ  

ศิลปะของการสื่อสารอย่างมีเหตุผลและประสิทธิภาพ                                                                                    

                                     

ชุดวิชาเลือก*

 

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

5 หน่วยกิต

2(1-2-3)

3(2-2-5)                        


8 หน่วยกิต

 

รวม

19 หน่วยกิต

 

 

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

ชุดวิชาเลือก*

18 หน่วยกิต

 

รวม

18 หน่วยกิต

 

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

ชุดวิชาเลือก*

ชุดวิชาวิชาเสรี                          

9 หน่วยกิต

10 หน่วยกิต

 

รวม

19 หน่วยกิต

 

ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

ชุดวิชาวิชาเสรี                           

10 หน่วยกิต

 

รวม

10 หน่วยกิต

 

ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

 

ภวอ461

ภวอ462

ภวอ463

ภวอ464

วิชาพัฒนาทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์ (เลือกเรียน)

ประสบการณ์การศึกษาในประเทศอาเซียน

ประสบการณ์วิชาชีพ

สหกิจศึกษา

การศึกษาอิสระทางอาเซียนศึกษา

6หน่วยกิต

6(2-12-4)

6(0-18-0)

6(0-18-0)

6(0-6-10)

 

รวม

6  หน่วยกิต

 




 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. คุณสมบัติทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

1)      ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความผิดปกติที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

2)      ไม่เคยถูกให้ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใดๆ มาแล้ว เพราะความประพฤติไม่เหมาะสมหรือกระทำความผิดต่างๆ ที่ไม่ใช่ทางด้านวิชาการ
3)   จะต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษ เนื่องจากกระทำความผิดหรือร่วมกระทำทุจริตในการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
4)   เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย และรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถและจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
5)     เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
6) ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือโรงเรียนในต่างประเทศ จะต้องได้รับการรับรองการเทียบความรู้จากกระทรวง ศึกษาธิการของไทย 

2. คุณสมบัติเฉพาะของผู้มีสิทธิ์สมัคร
1)   ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ไม่ต่ำกว่า  2.50 (ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้วให้คิดคะแนนเฉลี่ยสะสมทั้งหมด)
2)  ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด



Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top