Search
× Search

ข้อมูลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการศึกษา
  • คุณสมบัติ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

 

ชื่อสถาบันศึกษา           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะ/สถาบัน/สำนัก      คณะมนุษยศาสตร์

 

ชื่อหลักสูตร

          ภาษาไทย:  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

          ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Arts Program in Children’s Literature

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย

          ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา)

          ชื่อย่อ: ศศ.บ. (สารสนเทศศึกษา)

          ภาษาอังกฤษ

          ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Information Studies)

          ชื่อย่อ:  B.A. (Information Studies)

 

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ปรัชญาหลักสูตร

          สารสนเทศศึกษานำไปสู่การจัดการสารสนเทศเพื่อสังคม


ความสำคัญของหลักสูตร

          หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีของภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปรับเปลี่ยนมาจากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ดำเนินการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 จนถึงปีการศึกษา 2554 ต่อมาภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ดำเนินการปรับปรุงเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา พ.ศ. 2555 เพื่อให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) โดยเริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งใกล้จะครบวาระที่ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานเพื่อให้ทันการใช้ในปีการศึกษา 2560 ตามเกณฑ์ของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา       

          นอกจากนี้ ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และปริมาณสารสนเทศที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการทะลักทลายของสารสนเทศ(Information Explosion) ทั้งสภาพจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น และรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งวิ่งอยู่บนถนนของข้อมูล (Information Highway) ที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ดิจิทัล เหมืองข้อมูล (Data Mining) อภิมหาข้อมูล (Big Data) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) รวมถึงเครือข่ายสังคม (Social Network) และอื่น ๆ ที่กำลังตามมา ได้ส่งผลต่อการรวบรวม จัดเก็บ บริหารจัดการและการให้บริการสารสนเทศที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายในวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นกอปรกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ .ศ.2560-2564 ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักข้อ 1 คือ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นฐานการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับตลาดงาน โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ สร้างสุขภาวะที่ดี การสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ 21 ครอบครัวไทย รวมทั้งการเสริมสร้างบทบาทของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมคุณธรรม

จริยธรรมในสังคม

          การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ดังกล่าวจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีเชี่ยวชาญในเรื่อง การจัดการสารสนเทศ การบริการสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อเตรียมการพัฒนาคนสู่สังคมสารสนเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการบรรณารักษ์รุ่นใหม่และนักสารสนเทศวิชาชีพของตลาดงานที่ขยายตัวมากขึ้น ไม่ใช่เพียงห้องสมุดยุคใหม่เท่านั้น ยังครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐสถาบันการเงิน บริษัทที่ปรึกษา บริษัททางด้านเทคโนโลยี และบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการบุคลากรวิชาชีพด้านสารสนเทศที่เพิ่มสูงขึ้น


วัตถุประสงค์หลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

          1.3.1 มีคุณธรรมจริยธรรมทางวิชาชีพ และจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม

          1.3.2 มีทักษะการรู้สารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

1.3.3 มีความรู้ความสามารถในการจัดการสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม

 

จุดเด่นของหลักสูตร

          นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

1. เน้นการเรียนการสอนรายวิชาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือก

2. จัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชาการวิจัยพื้นฐานสำหรับวิชาชีพสารสนเทศ

3. นิสิตจะได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

          บัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ

1. บัณฑิตมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

2. บัณฑิตมีความสามารถในการทำรายการและจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ

3. บัณฑิตสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการวิจัยไปใช้เพื่อการวิจัยกับศาสตร์อื่นได้

4. บัณฑิตสามารถบูรณาการศาสตร์ และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

          หลักสูตรนี้ได้ออกแบบไว้เพื่อให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ  ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่น  อาจารย์  บรรณารักษ์  นักเอกสารสนเทศ  นักวิชาการสารสนเทศ  นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ นักจดหมายเหตุ เป็นต้น




โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา กำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เรียนรวม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต และมีองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งแบ่งหมวดวิชาสอดคล้องกับข้อกำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

หมวดวิชา

หน่วยกิต

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า

99

4. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมไม่น้อยกว่า

135 หน่วยกิต





imageimage





คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

          กรณีสอบตรง มศว

1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า

2. คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไม่ต่ำกว่า 2.75  (กรณีที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้คิดคะแนนเฉลี่ยสะสมทั้งหมด)

3. มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์

4. มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทย สามารถอ่านสรุปจับใจความภาษาอังกฤษได้พอเข้าใจ

5. มีนิสัยรักการอ่าน และติดตามความเคลื่อนไหวข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ใหม่ ๆ  อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

6. คุณสมบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนิสิต

         กรณีสอบกลาง (Admission)

มีคะแนนเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60  (จากคะแนนเฉลี่ย GPAX 20% O-NET 30 % และ GAT 50%)






Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top